Thursday, October 18, 2012

รวม โครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่าย โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์


รวม โครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่าย โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นการเสนอผลงานการดำเนินการเป็นเอกสาร จัดว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของโครงงาน  เมื่อนักเรียนดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอนได้ข้อมูล  ทำการวิเคราะห์ข้อมูล  พร้อมทั้งแปรผล  และสรุปผลแล้ว งานขั้นต่อไปที่ต้องทำคือ การเขียนรายงาน

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจแนวความคิด  วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้าข้อมูล  ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุป และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

 1. ชื่อโครงงาน

          ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานวิทยา ศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย   

          การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น

          โครงงานวิทยาศาสตร์ ชื่อ "ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย" ซึ่งปัญหาเรื่องที่สนใจศึกษาคือถุงน้ำพลาสติกสามารถไล่แมลงวันที่มาตอมอาหาร ได้จริงหรือ จากเรื่องดังกล่าวผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ บางคนหรือบางคณะอาจสนใจตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่า "การศึกษาการไล่แมลงวันด้วยถุงน้ำพลาสติก" หรือ "ผลการใช้ถุงน้ำพลาสติกต่อการไล่แมลงวัน" ก็เป็นได้

          อย่างไรก็ตามจะตั้งชื่อโครงการในแบบใด ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาได้ ชัดเจน  

 2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

          การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถ ติดตามได้ที่ใด  

 3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

          การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย  

 4. บทคัดย่อ

          อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ

 5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)

                    ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลาย ฝ่าย ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ  จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย   

 6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้

          - แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
          - แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
          - ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม   ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

          ส่วนที่ 1 คำนำ :
          เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์

          ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :
          อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้

          ส่วนที่ 3 สรุป :
          สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1  

 7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน

          วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบ ถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ  

 8. สมมติฐานของการศึกษา

          สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน   ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ  ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่ได้ทำมาแล้ว  

 9. ขอบเขตของการทำโครงงาน

          ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา

          1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด รวมทั้งกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา

          2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป การบอกชนิดของตัวแปรอย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไม่สนใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงานต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน  

 10. วิธีดำเนินการ

          วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย

          1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
          2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
          3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
          4. การวิเคราะห์ข้อมูล
          ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง  

 11. ผลการศึกษาค้นคว้า

          นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย   

 12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ

          อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้  หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่ เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข หากมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย   

 13. เอกสารอ้างอิง

          เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลักการที่นิยมกัน  



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อาจารย์พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์
โครงงานวิทย์ ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ รวบรวมไง้ให้น้องๆ ที่ค้นหา โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง หรือโครงงานต่างๆครับ จะพยามนำมาอัพเดทเรื่อยๆ ตอนนี้ขอนำเสนอตามลิ้งด้านล่างที่หาเจอก่อนนะครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ กับน้องๆทุกคน

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์

http://variety.siam55.com/data/6/0036-1.html

โครงงานกาวจากเปลือกพืชป่าชายเลน

http://variety.siam55.com/data/6/0277-1.html

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์

http://variety.siam55.com/data/6/0042-1.html

ตัวอย่างโครงงานคณิตศาสตร์

http://variety.siam55.com/data/6/0037-1.html

ตัวอย่างโครงงานภาษาไทย

http://variety.siam55.com/data/6/0041-1.html

โครงงานตะกั่ว

http://variety.siam55.com/data/6/0292-1.html

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง

http://variety.siam55.com/data/6/0275-1.html
http://variety.siam55.com/data/6/0274-1.html

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์   ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   ประเภทชีวภาพ

                     เรื่อง ความลับของน้ำซาวข้าว

คณะผู้จัดทำ

     1. นางสาวกรองทอง  ใจแก้วแดง
     2. นางสาวน้ำหวาน     พยอม
     3. นางสาวภรณ์ทิพย์   ฮาวกันทะ
          อาจารย์ที่ปรึกษา   ม. สนธยา  ใจมั่น
          อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ  คุณครู ชนัญญา  ใจมั่น

โรงเรียนอรุโณทัย

               294 ถนนฉัตรไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100
                 โทรศัพท์  054-217698  โทรสาร  054-318620

บทคัดย่อ

          การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของเกลือละลายน้ำซาวข้าว กับเกลือละลายน้ำ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2ตอนดังนี้ คือเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดอง ด้วยเกลือละลายน้ำกับเกลือละลายน้ำซาวข้าว โดยเปลี่ยนวัตถุดิบ ซึ่งทำการทดลองอยู่ 3 ครั้ง เพื่อความแน่นอนในผลการทดลอง และในตอนที่ 2 ได้ทดลองเพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของเกลือที่แตกต่างกันใน การดอง ด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้วกับเกลือละลายน้ำ โดยใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน
          ผลจากการทดลองในตอนที่ 1 พบว่าการดองวัตถุดิบในน้ำซาวข้าว คือ ผักกาดแก้ว , แตงกวา , ฝรั่ง มีความเป็นกรดมากกว่าน้ำเกลือ
          ผลการทดลองในตอนที่ 2 ได้ใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันคือ ฝรั่ง ดองในเกลือละลายน้ำซาวข้าวกับเกลือละลายน้สะอาด โดยใช้ปริมาณเกลือที่แตกต่างกันดังนี้ คือ 75 กรัม 65 กรัม 55กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัม พบว่าในการดองที่ใช้เกลือในปริมาณ 45-35 กรัม จะให้ความเป็นกรดได้ดีกว่าเกลือปริมาณอื่น ๆ ซึ่งความเป็นกรดนี้จะช่วยให้วัตถุดิบนั้นมีรสชาดเปรี้ยว และไม่เกิดการเน่าของวัตถุดิบและการใช้เกลือในปริมาณนี้ ช่วยให้น้ำซาวข้าวไม่มีกลิ่นเหม็น

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ประชากรในภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ก่อนที่จะนำข้าวไปทำให้สุกได้ จะต้องนำข้าวที่แช่ไว้มารินน้ำออกก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกขั้นตอนนี้ว่า "การซาวข้าว" และน้ำที่ได้จากการซาวข้าวเรียกว่า "น้ำซาวข้าว" และเมื่อได้น้ำซาวข้าวมาก็จะนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ การล้างผักเพื่อช่วยลดสารเคมีที่ตกค้างในผัก ตลอดจนการหมักดองที่ช่วยในการรักษาสภาพของวัตถุดิบและทำให้วัตถุดิบมีรส เปรี้ยวและจากการที่ได้เห็นการดองฝรั่งของคนในหมู่บ้านจะเติมน้ำซาวข้าวลงไป ในไหดองด้วยหลังจากที่ดองเสร็จก็พบว่า ฝรั่งที่ดองมีรสเปรี้ยวขึ้นมาก ข้าพเจ้าจึงนำมาคุยและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มว่า การใส่น้ำซาวข้าวมีผลทำให้ฝรั่งมีรสเปรี้ยวจริงหรือไม่  แล้วจะต้องใช้ปริมาณเกลือเท่าใดจึงจะให้การดองด้วยน้ำซาวข้าวเกิดผลดีที่สุด จากข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้คิดค้นการทำโครงงานนี้ขึ้นมา

ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้า

          1. ศึกษาเปรียบเทียบค่าความเป็นกรด-เบส ในการดองระหว่างเกลือละลายน้ำซาวข้าวและเกลือละลายน้ำ
          2. ศึกษาความสามารถในการดองโดยใช้เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้ 0กรัม , 5 กรัม , 15 กรัม ,25 กรัม , 35 กรัม ,45 กรัม ,55 กรัม , 65 กรัม และ 75 กรัม ตามลำดับ
          3. ศึกษาการดองโดยใช้วัตถุดิบใน คือ ผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง

สมมุติฐานของการศึกษา

          ตอนที่ 1 วัตถุดิบทุกชนิดที่ดองด้วยน้ำซาวข้าวทิ้งไว้จะให้รสชาดเปรี้ยวกว่าน้ำเกลือ
          ตอนที่ 2 ปริมาณของเกลือที่ใช้ในการดอง  ถ้าเกลือลดลงจะมีผลทำให้วัตถุดิบที่ดองมีความเป็นกลางมากขึ้น

ตัวแปร

          ตัวแปรต้น

     ตอนที่ 1 : ฝรั่ง แตงกวา ผักกาดแก้ว
     ตอนที่ 2 : เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้ 75 กรัม 65 กรัม 55 กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัมตามลำดับ
          ตัวแปรตาม  ค่า pH (ความเป็นกรด-เบส) ที่วัดได้ในแต่ละครั้ง

          ตัวแปรควบคุม

     ตอนที่1 : ปริมาณเกลือ ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด
     ตอนที่ 2 : วัตถุดิบที่ใช้คือ ฝรั่ง ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด

 อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

     1. วัสดุ
          1.1 น้ำสะอาด        1.2 ฝรั่ง                   1.3 น้ำซาวข้าว
          1.4 เกลือ              1.5 ผักกาดแก้ว        1.6 แตงกวา
     2. อุปกรณ์
          อุปกรณ์เตรียมวัสดุ 1. ตะกร้า     2. มีด
          อุปกรณ์ในการดอง  1.ขวดโหล        2  ใบ
                                       2. บีกเกอร์ ขนาด 600 มิลลิลิตร     2 ใบ
                                       3. แท่งแก้วคนสาร
                                       4. ตาชั่ง
                                       5. ช้อนตักสาร
     3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
          1. เครื่องวัดค่า pH
          2. บีกเกอร์ ขนาด 50 มิลลิลิตร
     4. วิธีการทดลอง
          1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ
               1.1 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาล้างให้สะอาด
               1.2 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง ที่ล้างแล้วมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง
               1.3 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาชั่งเตรียมไว้เป็นส่วน ๆ ละ0.5 กิโลกรัม สังเกตวลักษณะของ ผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง
          2. ขั้นตอนการดอง แบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่าเกลือละลายในน้ำสะอาด กับน้ำซาวข้าวโดยเปลี่ยนวัตถุดิบ
               1. นำผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหล ซึ่งใบที่ 1 และ 2 คือผักกาดแก้ว ใบที่ 3 และ 4 คือแตงกวา ใบที่ 5 และ 6 คือฝรั่ง
                2. นำน้ำซาวข้าวมาละลายเกลือ 75 กรัม
                3. เทน้ำซาวข้าวในขั้นที่ 2 ลงในขวดโหลใบที่ 1, 3, 5 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกผลทุกวัน
                4. นำน้ำสะอาดมาละลายเกลือ 75 กรัม
                5. เทน้ำสะอาดในขั้นที่ 4 ลงในขวดโหลใบที่ 2 , 4 , 6 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกผลทุกวัน
                6. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH ด้วยเครื่องวัด pH แล้วบันทึกผล
                7. สังเกตผลที่ได้แล้ววัดค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลแต่ละใบมาบันทึกผลเปรียบเทียบ
                ตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นกรด-เบส โดยเปลี่ยนปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม โดยใช้ฝรั่งเป็นตัวควบคุม
                1. น้ำซาวข้าว 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้
                2. น้ำสะอาด 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้
                3. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 1
                4. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 2
                5. นำน้ำซาวข้าวที่ละลายเกลือเตรียมไว้มาเทลงในขวดโหลใบที่ 1  ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน
                6. นำน้ำสะอาดที่ละลายเกลือเตรียมไว้ในขั้นที่ 1 มาเทลงในขวดโหลใบที่ 2 ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน
                7. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH แล้วบันทึกผล
                8. สังเกตผลที่ได้ แล้วนำค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลทั้ง 2 ใบ มาเปรียบเทียบผล แล้วบันทึกผล
                9. ทำตามวิธีการจากข้อ 1-9 แต่ลดปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม จนไม่ใช้เกลือเลยในการดองครั้งสุดท้าย
               10. นำผลที่ได้ในแต่ละครั้งมาเปรียบเทียบค่า pH เพื่อทดส่อบความเป็นกรด-เบส

สรุปผลการทดลอง

          จากผลการทดลอง จะสรุปได้ว่า การดองด้วยเกลือละลายบน้ำซาวข้าว จะได้รสชาดเปรี้ยวกว่าการดองด้วยเกลือละลายน้สะอาด โดยไม่ต้องใส่สารเพิ่มรสชาติความเปรี้ยวลงไปในขณะดองอีก ซึ่งแม้เราจะเปลี่ยนวัตถุดิบ จากผักกาดแก้ว เป็น แตงกวาและฝรั่ง ผลที่ได้ น้ำซาวข้าวก็ยังให้ความเปรี้ยวกว่าน้ำสะอาดเสมอ และปริมาณเกลือที่เหมาะสมในการใช้ดองด้วยน้ำซาวข้าวให้เกิดรสชาติเปรี้ยวได้ ดีและเหมาะสมที่สุดในวัตถุดิบชนิดเดียวกันก็คือ ปริมาณเกลือ 45-35 กรัม โดยจะให้ค่าความเป็นกรดอยู่ที่ 3.70-3.76 ppm ถือว่าเป็นความเปรี้ยวที่เหมาะสม ซึ่งไม่เปรี้ยวเกินไปหรือจืดเกินไปที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการหมักดองจะมี เชื้อแบคทีเรียอยู่ซึ่งถ้าหากเราใส่เกลือมากเกินไปก็จะทำให้แบคทีเรียตายได้ แต่หากเกลือน้อยไปก็จะทำให้แบคทีเรียเหี่ยวดูไม่น่าทานหรืออาจติดเชื้อราได้ ดังนั้นเราจึงต้องหาปริมาณของเกลือที่เหมาะสมต่อการดอง
           นอกจากนี้การดองด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้าวยังสามารถรักษาสภาพของวัตถุดิบให้ ดูเต่งตึงไม่เหี่ยวไม่ช้ำเหมือนการดองด้วยเกลือละลายน้ำสะอาดและไม่นิ่มหรือ แข็งจนเกินไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1.สามารถนำไปแก้ไขปัญหาการพบสารเคมีในของดองในชีวิตประจำวันได้
          2. สามารถนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาเผยแพร่ให้ผู้คนได้รู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ข้อเสนอแนะ

          1. เราอาจนำการทดลองนี้ไปใช้กับข้าวพันธ์อื่น ๆ ได้ตามสายพันธุ์ที่มีอยู่ในบ้านของคุณ
          2. เราอาจนำการทดลองนี้ไปใช้ในวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น ดองกระท้อน ดองมะม่วง

####################################################

  (ขอบคุณข้อมูลจาก โรงเรียนอรุโณทัย จังหวัดลำปาง โครงงานวิทยศาสตร์   เรื่องความลับของน้ำซาวข้าว)

     ที่มาจาก http://nawapat.is.in.th/?md=content&ma=show&id=47

0 comments:

Post a Comment