Thursday, October 18, 2012

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนโครงงานวิทยาศาสตร์


ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ เอางานตัวอย่างโครงงานมาให้เพื่อนๆได้ดู

คำค้นที่เกี่ยวข้อง : โครง งานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง, โครงงานวิทย์, ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์, โครงงานคณิตศาสตร์, โครงงานวิทยาศาสตร์, โครงงานวิทยาศาสตร์ ม.ต้น, โครงงานภาษาไทย
โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ผู้ทำโครงงานจะต้องนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (secientific method) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process) มาใช้เพื่อศึกษาหาทางแก้ปัญหาเรื่องใหม่ ๆ หรือประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ โดยผู้ทำโครงงาน เป็นผู้คิดเรื่องหรือเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา มีการวางแผนดำเนินการ (ลงมือปฏิบัติ) บันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และเสนอผลงานด้วยตนเอง ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จทุกขั้นตอน


การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา

ขั้น ตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วย ตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน

ได้แก่ การวางแผนวิธีดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวมข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ

         
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน

ได้แก่ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ล่วงหน้าแล้วในขั้นที่สองนั่นเอง ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างหรือการประดิษฐ์ การปฏิบัติการทดลอง ซึ่งสุดแล้วแต่จะเป็นโครงงานประเภทใดและการค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ แล้วดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งความหมายของข้อมูล และสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน

เป็น การเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วยปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ๆ วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ก็มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับการเขียนรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์นั่น เอง

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน

เป็น การเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบการรายงานปากเปล่า ฯลฯ

ในการจัดแสดงผลงานของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ครูอาจกระทำได้ในหลายระดับ เช่น

               - การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน
               - การจัดแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน
               - การจัดแสดงนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน
               - การส่งโครงงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียนในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัด
                     ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น

==================================================

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนโครงงานวิทยาศาสตร์


ตัวอย่างการทำโครงงานวิทยาศาสตร์


ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ

เฝ้าสังเกต          ตำราทำอาหารบอกว่าให้เติมเกลือลงน้ำก่อนน้ำจะเดือด

ชื่อเรื่อง             ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ

วัตถุประสงค์ของโครงงาน          เพื่อศึกษาว่าเกลือแกงธรรมดามีผลต่อจุดเดือดของน้ำอย่างไร

สมมุติฐาน          การเติมเกลือแกงลงไปในน้ำที่กำลังต้มอยู่ทำให้อุณหภูมิจุดเดือดของน้ำสูงขึ้น

วัสดุ และอุปกรณ์- เกลือแกง- น้ำกลั่น- ถ้วยตวงหน่วยเป็นไปนต์- หม้อต้มขนาดบรรจุ 2 ควอท- ช้อนชา และ ช้อนโต๊ะ- เทอร์โมมิเตอร์- ช้อนคนสาร

วิธีการทดลอง
1. ต้มน้ำ 1 ควอทบนเตา
2. เมื่อน้ำเดือด  วัดอุณหภูมิที่สูงสุด  ค่าที่วัดนี้ถือเป็นค่าควบคุม เพื่อเปรียบเทียบกับ
3. ตวงเกลือแกงจำนวน 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ
4. ใส่ลงไปในน้ำที่เดือด แล้วคน
5. วัดอุณหภูมิของน้ำเดือดที่มีเกลืออยู่ โดยบันทึกอุณหภูมิสูงสุดไว้6. ทำการทดลองซ้ำโดยเติมเกลือเพิ่มอีก 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ

ข้อมูล              ทำการทดลองเมื่อ   25/2/95

จำนวนน้ำเดือด                                                   2  ถ้วย   
อุณหภูมิน้ำเดือด (ควบคุม)                                     212.9 F     
จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1          1 ช้อนโต๊ะ     
อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                    215.6 F     
จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2          1 ช้อนโต๊ะ     
อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                   218.3  F

บันทึกข้อสังเกต  เมื่อ เติมเกลือลงไปในน้ำเดือด จะเกิดฟองมากขึ้น แล้วก็หยุดเดือด หลังจากนั้นอีกสักครู่น้ำจะกลับเดือดอีก          การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดบริเวณน้ำด้านข้างของหม้อต้มน้ำ จะวัดอุณหภูมิได้สูงกว่าการวัดอุณหภูมิบริเวณใจกลางของหม้อ เพราะไฟต้มน้ำมีความร้อนแรงบริเวณรอบนอก ดังนั้นให้วัดค่าที่จะบันทึกจริงบริเวณใจกลางของหม้อ

การคำนวณ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 1 :   0+1  =  1  ช้อนโต๊ะ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 2 :   1+1  =  2  ช้อนโต๊ะ

ผลการทดลอง

อุณหภูมิน้ำเดือด(ควบคุม)   212.9 F     
จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1                  1 ช้อนโต๊ะ     
อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                            215.6  F     
จำนวนเกลือแกงทั้งหมดที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2        2 ช้อนโต๊ะ     
อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                            218.3  F

สรุปผล
Q: สมมุติฐานถูกต้องหรือไม่ ?  A: ถูกต้อง  การเติมเกลือแกงทำให้น้ำเดือดที่อุณหภูมิสูงขึ้นQ: ปัญหาที่เกิดในระหว่างการทดลอง  A: การอ่านอุณหภูมิทำได้ยาก ต้องใส่ถุงมือป้องกันมือจากความร้อน และต้องระวังไม่ให้ความร้อนรบ     กวนจากเตามาถึงเทอร์โมมิเตอร์Q: สิ่งที่เรียนรู้อื่นๆ A: ให้ระวังขณะเติมเกลือลงในน้ำเดือด เพราะมันจะทำให้น้ำเดือดอย่างรุนแรงเป็นเวลา 1-2 วินาที

คำถามข้างเคียง
Q: คุณคิดว่าตำราทำอาหารแนะนำให้ใส่เกลือแกงลงไปในน้ำต้มเดือดเพื่ออะไร?  A: เมื่อน้ำถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยเกลือ คุณสามารถทำอาหารได้เร็วขึ้น  และเกลือก็ยังทำให้อาหาร      รสดีขึ้น


ที่มา
http://www.geocities.com/sakont2000/sci3.htm

==================================================

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทชีวภาพ

เรื่อง “ความลับของน้ำซาวข้าว”



คณะผู้จัดทำ

1. นางสาวกรองทอง ใจแก้วแดง
2. นางสาวน้ำหวาน พยอม
3. นางสาวภรณ์ทิพย์ ฮาวกันทะ

อาจารย์ที่ปรึกษา ม. สนธยา ใจมั่น
อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ คุณครู ชนัญญา ใจมั่น

โรงเรียนอรุโณทัย 294 ถนนฉัตรไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100

โทรศัพท์ 054-217698 โทรสาร 054-318620



บทคัดย่อ

          การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของเกลือละลายน้ำซาวข้าว กับเกลือละลายน้ำ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอนดังนี้

          1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดอง ด้วยเกลือละลายน้ำกับเกลือละลายน้ำซาวข้าว โดยเปลี่ยนวัตถุดิบ ซึ่งทำการทดลองอยู่ 3 ครั้ง เพื่อความแน่นอนในผลการทดลอง

          2. ได้ทดลองเพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของเกลือที่แตกต่างกันใน การดอง ด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้าวกับเกลือละลายน้ำ โดยใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน

ผลจากการทดลองในตอนที่ 1

          พบว่าการดองวัตถุดิบในน้ำซาวข้าว คือ ผักกาดแก้ว, แตงกวา, ฝรั่ง มีความเป็นกรดมากกว่าน้ำเกลือ

ผลการทดลองในตอนที่ 2

          ได้ใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันคือ ฝรั่ง ดองในเกลือละลายน้ำซาวข้าวกับเกลือละลายน้ำสะอาด โดยใช้ปริมาณเกลือที่แตกต่างกันดังนี้ คือ 75 กรัม 65 กรัม 55กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัม พบว่าในการดองที่ใช้เกลือในปริมาณ 45-35 กรัม จะให้ความเป็นกรดได้ดีกว่าเกลือปริมาณอื่น ๆ ซึ่งความเป็นกรดนี้จะช่วยให้วัตถุดิบนั้นมีรสชาดเปรี้ยว และไม่เกิดการเน่าของวัตถุดิบและการใช้เกลือในปริมาณนี้ ช่วยให้น้ำซาวข้าวไม่มีกลิ่นเหม็น


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ประชากรในภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักก่อนที่จะนำ ข้าวไปทำให้สุกได้ จะต้องนำข้าวที่แช่ไว้มารินน้ำออกก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกขั้นตอนนี้ว่า "การซาวข้าว" และน้ำที่ได้จากการซาวข้าวเรียกว่า "น้ำซาวข้าว" และเมื่อได้น้ำซาวข้าวมาก็จะนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ การล้างผักเพื่อช่วยลดสารเคมีที่ตกค้างในผัก ตลอดจนการหมักดองที่ช่วยในการรักษาสภาพของวัตถุดิบและทำให้วัตถุดิบมีรส เปรี้ยว และจากการที่ได้เห็นการดองฝรั่งของคนในหมู่บ้านจะเติมน้ำซาวข้าวลงไปในไหดอง ด้วย หลังจากที่ดองเสร็จก็พบว่า ฝรั่งที่ดองมีรสเปรี้ยวขึ้นมาก ข้าพเจ้าจึงนำมาคุยและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มว่า การใส่น้ำซาวข้าวมีผลทำให้ฝรั่งมีรสเปรี้ยวจริงหรือไม่ แล้วจะต้องใช้ปริมาณเกลือเท่าใดจึงจะให้การดองด้วยน้ำซาวข้าวเกิดผลดีที่สุด จากข้อสงสัยต่าง ๆ เหล่านี้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้คิดค้นการทำโครงงานนี้ขึ้นมา

ที่มา
http://nawapat.is.in.th/?md=content&ma=show&id=47

============================================

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน"

รายชื่อผู้จัดทำ

1. นายตาตั้ม มนตลักษณ์
2. นางสาวศิริรัตน์ พันธุ์อธิคม
3. นางสาวรัชดาภรณ์ เพชรวงศ์


อาจารย์ที่ปรึกษา

1. อาจารย์มาฆะ ทิพย์คีรี
2. อาจารย์วิมลศรี สุวรรณรัตน์
3. อาจารย์ณัฐจรีย์ ธรรมทัศนานนท์ 

ที่มาและความสำคัญและปัญหา

จาก การที่มีการเลี้ยงกุ้งกัน ทำให้มีการแพร่กระจายของเกลือจากนากุ้ง ออกสู่พื้นที่ใกล้เคียงทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผู้ทำโครงงานเห็นว่ามีพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้บริเวณดินเค็มริมฝั่ง ทะเล จึงคิดว่าน่าจะนำพืชเหล่านั้นมาดูดซับเกลือที่แพร่กระจายออกมาจากนากุ้งได้ ซึ่งจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณของพืชทะเล นำมาลดมลพิษจากแพร่กระจายของเกลือ
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินที่ได้จากนากุ้ง
3. เพื่อศึกษาการปลูกผักบุ้งทะเล และถั่วทะเลบริเวณว่างเปล่าริมนากุ้งเพื่อลดความเค็ม
4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
5. เพื่อศึกษาหาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่บริเวณชายฝั่งทะเล เปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่อยู่***งไกลชายฝั่งทะเล

สมมติฐาน

พืชที่เจริญได้ดีบริเวณชายฝั่งทะเล สามารถลดมลพิษจากการแพร่กระจายของเกลือที่เกิดจากการทำนากุ้ง

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

- ตัวแปรต้น พืชทะเลบางชนิด
- ตัวแปรตาม การลดความเค็มของดิน
- ตัวแปรควบคุม ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณดินที่ใช้ในการทดลอง

วิธีการวิเคราะห์ความเค็ม

1. วิเคราะห์โดยการสังเกตุการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวในดินเค็ม ถ้าข้าวไม่เจริญแสดงว่าดินเค็ม ถ้าข้าวเจริญแสดงว่าดินไม่เค็ม
2. วิเคราะห์จากการหาปริมาณ AgNO3 ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ถ้ามีปริมาณ AgNO3 มาก แสดงว่ามีเกลือมาก

วิธีการทดลอง

1. สำรวจชนิด และปริมาณพืชที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อจะคัดเลือกพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณชายฝั่งทะเลมาลดมลพิษการแพร่ กระจายของเกลือ
2. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินจากนากุ้ง
3. ทดลองปลูกผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลบริเวณที่ว่างเปล่าริมนากุ้ง
4. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
5. ทดลองศึกษาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลเปรียบเทียบ กับผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณดินปกติ (ปกติ คือ ดินที่อยู่***งไกลจากทะเล)

ผลการวิเคราะห์และวิจารณ์ผล

1. พืชทะเลมี 10 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเล, ถั่วทะเล, งับพริก, คดดินสอ, แพงพวย, ปอทะเล, บุกรอ, หูกวาง, แห้วหมู, หญ้าหนวดกุ้ง และพบว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลเจริญเติบโตได้ดีจึงนำพืชทั้ง 2 ชนิดมาดูดซับเกลือ
2. การนำผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลดูดซับเกลือในปล้องบ่อได้จริง ในระยะเวลา 120 วัน
3. การทดลองดูดซับเกลือในแปลง พบว่าดูดซับเกลือได้เช่นกันในเวลา 120 วัน
4. แม้ใช้ดินเลนที่มีขี้กุ้งมาปลูกผักบุ้งทะเลก็ยังสามารถเจริญได้ดีและดูดซับเกลือได้
5. ผลการวิเคราะห์ในลำต้นผักบุ้งที่ขึ้นริมฝั่งทะเลมีเกลือมากกว่าผักบุ้งที่ขึ้นบริเวณดินไม่เค็ม

ประโยชน์ของโครงงาน

             จากการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 2 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล สามารถลดความเค็มของดินได้จริงดังนั้นผู้ทำโครงงานจึงคิดว่า ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ
1. นำไปลดความเค็มของดินบริเวณนาที่มีการเลี้ยงกุ้ง
2. อาจนำไปลดความเค็มของดินที่แพร่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ (แต่ยังไม่มีการทดลอง)

ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

0 comments:

Post a Comment