Thursday, October 18, 2012

ตัวอย่างโครงงานคณิตศาสตร์


ตัวอย่างโครงงานคณิตศาสตร์ เราขอขอบคุณบทความเกี่ยวกับโครงงานดีๆ
โครงงาน คือ งานวิจัยเล็ก ๆ ของนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของนักเรียน โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และเจตคติทางวิทยาศาสตร์หากเนื้อหาสาระหรือข้อสงสัยตรงตาม กลุ่มสาระ   ใดก็จัด เป็นโครงงานตามกลุ่มสาระนั้น
 


จุดมุ่งหมายของโครงงานคณิตศาสตร์
           เพื่อให้การทำโครงงานคณิตศาสตร์บรรลุตามจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
              วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์นั้นจะต้องมีจุด
              มุ่งหมาย  ที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายของโครงงานคณิตศาสตร์
              พอสรุปได้ดังนี้
    1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรัก ความสนใจและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
    2. เพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
        เพื่อแก้ปัญหา
    3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือออกแบบสิ่ง
        ประดิษฐ์ใหม่ ๆ ได้ โดยตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของวิชาคณิตศาสตร์

    4. เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    5. เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
    6. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออก พร้อมทั้งได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานของตนเอง
    7. เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบและสามารถร่วมกับผู้อื่นได้
    8. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสนใจ
        และมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์



ประเภทของโครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้   
     1. โครงงานคณิตศาสตร์ประเภททดลอง เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
 โดยการ  ออกแบบทดลองและดำเนินการการทดลอง เพื่อหาคำตอบของปัญหาและเพื่อตรวจ
  สอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งขั้นตอนในการทำงานประกอบด้วยการกำหนดปัญหา การ        
  ตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง ดำเนินการทดลอง การแปลผลและสรุปผลการทดลอง
        2. โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทสำรวจ เป็นกิจกรรมการศึกษาและรวบรวมข้อมูล จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการสำรวจและรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลเหล่านั้น มาจัดกระทำแล้วนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

        3. โครงงานคณิตศาสตร์ประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ เป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนหรือการปรับปรุงอุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้งานได้ดีกว่าเดิม หรือเป็นการเสนอการปรับสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาใดปัญหา หนึ่ง
        4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องเสนอ แนวคิดใหม่ ๆ ในการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล มีหลักการทางคณิตศาสตร์ หรือมีทฤษฎีมาสนับสนุน หรือเป็นการอธิบายปรากฏการณ์เก่าในแนวใหม่ อาจเสนอในรูปคำอธิบาย สูตร หรือ สมการ โดยมีข้อมูลหรือทฤษฎีสนับสนุน 

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานคอมพิวเตอร์


ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมอิสระที่ผู้ เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ โดใช้ทักษะ ตลอดจนประสบการ์ของผู้เรียนด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการแกปัญหาต่างๆ ผู้เรียนจะต้องวางแผนดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
               เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่ง ที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้น ฐานเป็นสำคัญ
การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับ การศึกษาวิทยา ศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่
- สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
- การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขเป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ
- คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน
                 นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อความเข้าใจความเป็น ไปของธรรมชาติในโลก ในทำนองเดียวกันนักเรียนต้องเรียนวิชาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อความเข้า ใจในสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสังคมต่าง ๆ ในยุคสารสนเทศ เนื้อหาวิชาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีเป้า หมายที่จะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการของคอมพิวเตอร์และ มีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนสามารถบรรลุ เป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์
จุดมุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียนการ สอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน คือการที่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกความสามารถในการนำความรู้เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งคือการที่นักเรียนได้มีโอกาสทำโครง งานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียน รู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย
                 โครงงานคอมพิวเตอร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาเป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมี อิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน โครงงานบางเรื่องอาจต้องการวัสดุอุปกรณ์นอกเหนือจากที่มีอยู่ ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดออกแบบสร้างขึ้น หรือดัดแปลงเพื่อใช้งานได้ตรงกับความต้องการ โดยในการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์จะอยู่ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครูใน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์หรือต่างสาาวิชารวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ด้วย
                  โครงงานคอมพิวเตอร์ที่จะทำในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นประเด็นหรือปัญหาที่นัก เรียนสนใจใคร่รู้ และสามารถใช้ความรู้ ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ในระดับของนักเรียน เพื่อคิดแนวทางในการแก้ปัญหาและการพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้โครงงานคอมพิวเตอร์นั้นมีคุณค่ายิ่ง อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดที่จะทำโครงงานอาจมีผู้สนใจทำมาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนามาแล้ว แต่นักเรียนก็ยังสามารถทำโครงงานดังกล่าวได้ เพียงแต่คิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้
กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงานคอมพิวเตอร์ควรมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
      - เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอต์ฟแวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
      - นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนาด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
      - นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการสรุปผล และการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
การทำโครงงาน คอมพิวเตอร์มีของเขตกว้างขวางมาก ตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องอาจใช้เวลาสั้นในการพัฒนา จนถึงเรื่องที่ใช้เวลาเป็นภาคเรียนหรือปีการศึกษา โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยจนถึงนับพันบาท นักเรียนจึงควรศึกษารายละเอียดและงบประมาณต่างๆ ของโครงงานก่อน จึงค่อยเลือกทำโครงงานที่เหมาะสมกับระดับความรู้ ความสามารถ และความสนใจของนักเรียน โดยทั่ว ๆ ไป การทำโครงงานคอมพิวเตอร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนรายวิชา คอมพิวเตอร์ทุกระดับการศึกษา โดยอาจจะทำเป็นกลุ่มหรอทำเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียนแต่ละคนแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ
จุด มุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ไม่ได้อยู่ที่การส่งเข้าประกวด เพื่อรับรางวัล แต่เป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงผลงานของตนเองเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่สนใจในชุมชนเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนหรืองานอื่น ๆ
         การทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้ นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้
      1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
      2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
      3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
      4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
      5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
      6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
      7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
      8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน
การ จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงาน คอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่ม เติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนโครงงานวิทยาศาสตร์


ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ เอางานตัวอย่างโครงงานมาให้เพื่อนๆได้ดู

คำค้นที่เกี่ยวข้อง : โครง งานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง, โครงงานวิทย์, ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์, โครงงานคณิตศาสตร์, โครงงานวิทยาศาสตร์, โครงงานวิทยาศาสตร์ ม.ต้น, โครงงานภาษาไทย
โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ผู้ทำโครงงานจะต้องนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (secientific method) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process) มาใช้เพื่อศึกษาหาทางแก้ปัญหาเรื่องใหม่ ๆ หรือประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ โดยผู้ทำโครงงาน เป็นผู้คิดเรื่องหรือเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา มีการวางแผนดำเนินการ (ลงมือปฏิบัติ) บันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และเสนอผลงานด้วยตนเอง ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จทุกขั้นตอน


การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา

ขั้น ตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วย ตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน

ได้แก่ การวางแผนวิธีดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวมข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ

         
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน

ได้แก่ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ล่วงหน้าแล้วในขั้นที่สองนั่นเอง ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างหรือการประดิษฐ์ การปฏิบัติการทดลอง ซึ่งสุดแล้วแต่จะเป็นโครงงานประเภทใดและการค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ แล้วดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งความหมายของข้อมูล และสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน

เป็น การเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วยปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ๆ วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ก็มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับการเขียนรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์นั่น เอง

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน

เป็น การเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบการรายงานปากเปล่า ฯลฯ

ในการจัดแสดงผลงานของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ครูอาจกระทำได้ในหลายระดับ เช่น

               - การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน
               - การจัดแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน
               - การจัดแสดงนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน
               - การส่งโครงงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียนในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัด
                     ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น

==================================================

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนโครงงานวิทยาศาสตร์


ตัวอย่างการทำโครงงานวิทยาศาสตร์


ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ

เฝ้าสังเกต          ตำราทำอาหารบอกว่าให้เติมเกลือลงน้ำก่อนน้ำจะเดือด

ชื่อเรื่อง             ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ

วัตถุประสงค์ของโครงงาน          เพื่อศึกษาว่าเกลือแกงธรรมดามีผลต่อจุดเดือดของน้ำอย่างไร

สมมุติฐาน          การเติมเกลือแกงลงไปในน้ำที่กำลังต้มอยู่ทำให้อุณหภูมิจุดเดือดของน้ำสูงขึ้น

วัสดุ และอุปกรณ์- เกลือแกง- น้ำกลั่น- ถ้วยตวงหน่วยเป็นไปนต์- หม้อต้มขนาดบรรจุ 2 ควอท- ช้อนชา และ ช้อนโต๊ะ- เทอร์โมมิเตอร์- ช้อนคนสาร

วิธีการทดลอง
1. ต้มน้ำ 1 ควอทบนเตา
2. เมื่อน้ำเดือด  วัดอุณหภูมิที่สูงสุด  ค่าที่วัดนี้ถือเป็นค่าควบคุม เพื่อเปรียบเทียบกับ
3. ตวงเกลือแกงจำนวน 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ
4. ใส่ลงไปในน้ำที่เดือด แล้วคน
5. วัดอุณหภูมิของน้ำเดือดที่มีเกลืออยู่ โดยบันทึกอุณหภูมิสูงสุดไว้6. ทำการทดลองซ้ำโดยเติมเกลือเพิ่มอีก 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ

ข้อมูล              ทำการทดลองเมื่อ   25/2/95

จำนวนน้ำเดือด                                                   2  ถ้วย   
อุณหภูมิน้ำเดือด (ควบคุม)                                     212.9 F     
จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1          1 ช้อนโต๊ะ     
อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                    215.6 F     
จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2          1 ช้อนโต๊ะ     
อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                   218.3  F

บันทึกข้อสังเกต  เมื่อ เติมเกลือลงไปในน้ำเดือด จะเกิดฟองมากขึ้น แล้วก็หยุดเดือด หลังจากนั้นอีกสักครู่น้ำจะกลับเดือดอีก          การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดบริเวณน้ำด้านข้างของหม้อต้มน้ำ จะวัดอุณหภูมิได้สูงกว่าการวัดอุณหภูมิบริเวณใจกลางของหม้อ เพราะไฟต้มน้ำมีความร้อนแรงบริเวณรอบนอก ดังนั้นให้วัดค่าที่จะบันทึกจริงบริเวณใจกลางของหม้อ

การคำนวณ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 1 :   0+1  =  1  ช้อนโต๊ะ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 2 :   1+1  =  2  ช้อนโต๊ะ

ผลการทดลอง

อุณหภูมิน้ำเดือด(ควบคุม)   212.9 F     
จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1                  1 ช้อนโต๊ะ     
อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                            215.6  F     
จำนวนเกลือแกงทั้งหมดที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2        2 ช้อนโต๊ะ     
อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                            218.3  F

สรุปผล
Q: สมมุติฐานถูกต้องหรือไม่ ?  A: ถูกต้อง  การเติมเกลือแกงทำให้น้ำเดือดที่อุณหภูมิสูงขึ้นQ: ปัญหาที่เกิดในระหว่างการทดลอง  A: การอ่านอุณหภูมิทำได้ยาก ต้องใส่ถุงมือป้องกันมือจากความร้อน และต้องระวังไม่ให้ความร้อนรบ     กวนจากเตามาถึงเทอร์โมมิเตอร์Q: สิ่งที่เรียนรู้อื่นๆ A: ให้ระวังขณะเติมเกลือลงในน้ำเดือด เพราะมันจะทำให้น้ำเดือดอย่างรุนแรงเป็นเวลา 1-2 วินาที

คำถามข้างเคียง
Q: คุณคิดว่าตำราทำอาหารแนะนำให้ใส่เกลือแกงลงไปในน้ำต้มเดือดเพื่ออะไร?  A: เมื่อน้ำถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยเกลือ คุณสามารถทำอาหารได้เร็วขึ้น  และเกลือก็ยังทำให้อาหาร      รสดีขึ้น


ที่มา
http://www.geocities.com/sakont2000/sci3.htm

==================================================

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทชีวภาพ

เรื่อง “ความลับของน้ำซาวข้าว”



คณะผู้จัดทำ

1. นางสาวกรองทอง ใจแก้วแดง
2. นางสาวน้ำหวาน พยอม
3. นางสาวภรณ์ทิพย์ ฮาวกันทะ

อาจารย์ที่ปรึกษา ม. สนธยา ใจมั่น
อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ คุณครู ชนัญญา ใจมั่น

โรงเรียนอรุโณทัย 294 ถนนฉัตรไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100

โทรศัพท์ 054-217698 โทรสาร 054-318620



บทคัดย่อ

          การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของเกลือละลายน้ำซาวข้าว กับเกลือละลายน้ำ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอนดังนี้

          1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดอง ด้วยเกลือละลายน้ำกับเกลือละลายน้ำซาวข้าว โดยเปลี่ยนวัตถุดิบ ซึ่งทำการทดลองอยู่ 3 ครั้ง เพื่อความแน่นอนในผลการทดลอง

          2. ได้ทดลองเพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของเกลือที่แตกต่างกันใน การดอง ด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้าวกับเกลือละลายน้ำ โดยใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน

ผลจากการทดลองในตอนที่ 1

          พบว่าการดองวัตถุดิบในน้ำซาวข้าว คือ ผักกาดแก้ว, แตงกวา, ฝรั่ง มีความเป็นกรดมากกว่าน้ำเกลือ

ผลการทดลองในตอนที่ 2

          ได้ใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันคือ ฝรั่ง ดองในเกลือละลายน้ำซาวข้าวกับเกลือละลายน้ำสะอาด โดยใช้ปริมาณเกลือที่แตกต่างกันดังนี้ คือ 75 กรัม 65 กรัม 55กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัม พบว่าในการดองที่ใช้เกลือในปริมาณ 45-35 กรัม จะให้ความเป็นกรดได้ดีกว่าเกลือปริมาณอื่น ๆ ซึ่งความเป็นกรดนี้จะช่วยให้วัตถุดิบนั้นมีรสชาดเปรี้ยว และไม่เกิดการเน่าของวัตถุดิบและการใช้เกลือในปริมาณนี้ ช่วยให้น้ำซาวข้าวไม่มีกลิ่นเหม็น


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ประชากรในภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักก่อนที่จะนำ ข้าวไปทำให้สุกได้ จะต้องนำข้าวที่แช่ไว้มารินน้ำออกก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกขั้นตอนนี้ว่า "การซาวข้าว" และน้ำที่ได้จากการซาวข้าวเรียกว่า "น้ำซาวข้าว" และเมื่อได้น้ำซาวข้าวมาก็จะนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ การล้างผักเพื่อช่วยลดสารเคมีที่ตกค้างในผัก ตลอดจนการหมักดองที่ช่วยในการรักษาสภาพของวัตถุดิบและทำให้วัตถุดิบมีรส เปรี้ยว และจากการที่ได้เห็นการดองฝรั่งของคนในหมู่บ้านจะเติมน้ำซาวข้าวลงไปในไหดอง ด้วย หลังจากที่ดองเสร็จก็พบว่า ฝรั่งที่ดองมีรสเปรี้ยวขึ้นมาก ข้าพเจ้าจึงนำมาคุยและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มว่า การใส่น้ำซาวข้าวมีผลทำให้ฝรั่งมีรสเปรี้ยวจริงหรือไม่ แล้วจะต้องใช้ปริมาณเกลือเท่าใดจึงจะให้การดองด้วยน้ำซาวข้าวเกิดผลดีที่สุด จากข้อสงสัยต่าง ๆ เหล่านี้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้คิดค้นการทำโครงงานนี้ขึ้นมา

ที่มา
http://nawapat.is.in.th/?md=content&ma=show&id=47

============================================

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน"

รายชื่อผู้จัดทำ

1. นายตาตั้ม มนตลักษณ์
2. นางสาวศิริรัตน์ พันธุ์อธิคม
3. นางสาวรัชดาภรณ์ เพชรวงศ์


อาจารย์ที่ปรึกษา

1. อาจารย์มาฆะ ทิพย์คีรี
2. อาจารย์วิมลศรี สุวรรณรัตน์
3. อาจารย์ณัฐจรีย์ ธรรมทัศนานนท์ 

ที่มาและความสำคัญและปัญหา

จาก การที่มีการเลี้ยงกุ้งกัน ทำให้มีการแพร่กระจายของเกลือจากนากุ้ง ออกสู่พื้นที่ใกล้เคียงทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผู้ทำโครงงานเห็นว่ามีพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้บริเวณดินเค็มริมฝั่ง ทะเล จึงคิดว่าน่าจะนำพืชเหล่านั้นมาดูดซับเกลือที่แพร่กระจายออกมาจากนากุ้งได้ ซึ่งจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณของพืชทะเล นำมาลดมลพิษจากแพร่กระจายของเกลือ
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินที่ได้จากนากุ้ง
3. เพื่อศึกษาการปลูกผักบุ้งทะเล และถั่วทะเลบริเวณว่างเปล่าริมนากุ้งเพื่อลดความเค็ม
4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
5. เพื่อศึกษาหาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่บริเวณชายฝั่งทะเล เปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่อยู่***งไกลชายฝั่งทะเล

สมมติฐาน

พืชที่เจริญได้ดีบริเวณชายฝั่งทะเล สามารถลดมลพิษจากการแพร่กระจายของเกลือที่เกิดจากการทำนากุ้ง

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

- ตัวแปรต้น พืชทะเลบางชนิด
- ตัวแปรตาม การลดความเค็มของดิน
- ตัวแปรควบคุม ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณดินที่ใช้ในการทดลอง

วิธีการวิเคราะห์ความเค็ม

1. วิเคราะห์โดยการสังเกตุการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวในดินเค็ม ถ้าข้าวไม่เจริญแสดงว่าดินเค็ม ถ้าข้าวเจริญแสดงว่าดินไม่เค็ม
2. วิเคราะห์จากการหาปริมาณ AgNO3 ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ถ้ามีปริมาณ AgNO3 มาก แสดงว่ามีเกลือมาก

วิธีการทดลอง

1. สำรวจชนิด และปริมาณพืชที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อจะคัดเลือกพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณชายฝั่งทะเลมาลดมลพิษการแพร่ กระจายของเกลือ
2. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินจากนากุ้ง
3. ทดลองปลูกผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลบริเวณที่ว่างเปล่าริมนากุ้ง
4. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
5. ทดลองศึกษาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลเปรียบเทียบ กับผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณดินปกติ (ปกติ คือ ดินที่อยู่***งไกลจากทะเล)

ผลการวิเคราะห์และวิจารณ์ผล

1. พืชทะเลมี 10 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเล, ถั่วทะเล, งับพริก, คดดินสอ, แพงพวย, ปอทะเล, บุกรอ, หูกวาง, แห้วหมู, หญ้าหนวดกุ้ง และพบว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลเจริญเติบโตได้ดีจึงนำพืชทั้ง 2 ชนิดมาดูดซับเกลือ
2. การนำผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลดูดซับเกลือในปล้องบ่อได้จริง ในระยะเวลา 120 วัน
3. การทดลองดูดซับเกลือในแปลง พบว่าดูดซับเกลือได้เช่นกันในเวลา 120 วัน
4. แม้ใช้ดินเลนที่มีขี้กุ้งมาปลูกผักบุ้งทะเลก็ยังสามารถเจริญได้ดีและดูดซับเกลือได้
5. ผลการวิเคราะห์ในลำต้นผักบุ้งที่ขึ้นริมฝั่งทะเลมีเกลือมากกว่าผักบุ้งที่ขึ้นบริเวณดินไม่เค็ม

ประโยชน์ของโครงงาน

             จากการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 2 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล สามารถลดความเค็มของดินได้จริงดังนั้นผู้ทำโครงงานจึงคิดว่า ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ
1. นำไปลดความเค็มของดินบริเวณนาที่มีการเลี้ยงกุ้ง
2. อาจนำไปลดความเค็มของดินที่แพร่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ (แต่ยังไม่มีการทดลอง)

ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รวม โครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่าย โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์


รวม โครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่าย โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นการเสนอผลงานการดำเนินการเป็นเอกสาร จัดว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของโครงงาน  เมื่อนักเรียนดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอนได้ข้อมูล  ทำการวิเคราะห์ข้อมูล  พร้อมทั้งแปรผล  และสรุปผลแล้ว งานขั้นต่อไปที่ต้องทำคือ การเขียนรายงาน

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจแนวความคิด  วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้าข้อมูล  ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุป และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

 1. ชื่อโครงงาน

          ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานวิทยา ศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย   

          การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น

          โครงงานวิทยาศาสตร์ ชื่อ "ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย" ซึ่งปัญหาเรื่องที่สนใจศึกษาคือถุงน้ำพลาสติกสามารถไล่แมลงวันที่มาตอมอาหาร ได้จริงหรือ จากเรื่องดังกล่าวผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ บางคนหรือบางคณะอาจสนใจตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่า "การศึกษาการไล่แมลงวันด้วยถุงน้ำพลาสติก" หรือ "ผลการใช้ถุงน้ำพลาสติกต่อการไล่แมลงวัน" ก็เป็นได้

          อย่างไรก็ตามจะตั้งชื่อโครงการในแบบใด ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาได้ ชัดเจน  

 2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

          การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถ ติดตามได้ที่ใด  

 3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

          การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย  

 4. บทคัดย่อ

          อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ

 5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)

                    ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลาย ฝ่าย ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ  จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย   

 6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้

          - แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
          - แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
          - ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม   ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

          ส่วนที่ 1 คำนำ :
          เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์

          ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :
          อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้

          ส่วนที่ 3 สรุป :
          สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1  

 7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน

          วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบ ถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ  

 8. สมมติฐานของการศึกษา

          สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน   ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ  ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่ได้ทำมาแล้ว  

 9. ขอบเขตของการทำโครงงาน

          ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา

          1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด รวมทั้งกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา

          2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป การบอกชนิดของตัวแปรอย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไม่สนใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงานต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน  

 10. วิธีดำเนินการ

          วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย

          1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
          2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
          3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
          4. การวิเคราะห์ข้อมูล
          ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง  

 11. ผลการศึกษาค้นคว้า

          นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย   

 12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ

          อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้  หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่ เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข หากมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย   

 13. เอกสารอ้างอิง

          เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลักการที่นิยมกัน  



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อาจารย์พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์
โครงงานวิทย์ ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ รวบรวมไง้ให้น้องๆ ที่ค้นหา โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง หรือโครงงานต่างๆครับ จะพยามนำมาอัพเดทเรื่อยๆ ตอนนี้ขอนำเสนอตามลิ้งด้านล่างที่หาเจอก่อนนะครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ กับน้องๆทุกคน

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์

http://variety.siam55.com/data/6/0036-1.html

โครงงานกาวจากเปลือกพืชป่าชายเลน

http://variety.siam55.com/data/6/0277-1.html

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์

http://variety.siam55.com/data/6/0042-1.html

ตัวอย่างโครงงานคณิตศาสตร์

http://variety.siam55.com/data/6/0037-1.html

ตัวอย่างโครงงานภาษาไทย

http://variety.siam55.com/data/6/0041-1.html

โครงงานตะกั่ว

http://variety.siam55.com/data/6/0292-1.html

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง

http://variety.siam55.com/data/6/0275-1.html
http://variety.siam55.com/data/6/0274-1.html

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์   ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   ประเภทชีวภาพ

                     เรื่อง ความลับของน้ำซาวข้าว

คณะผู้จัดทำ

     1. นางสาวกรองทอง  ใจแก้วแดง
     2. นางสาวน้ำหวาน     พยอม
     3. นางสาวภรณ์ทิพย์   ฮาวกันทะ
          อาจารย์ที่ปรึกษา   ม. สนธยา  ใจมั่น
          อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ  คุณครู ชนัญญา  ใจมั่น

โรงเรียนอรุโณทัย

               294 ถนนฉัตรไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100
                 โทรศัพท์  054-217698  โทรสาร  054-318620

บทคัดย่อ

          การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของเกลือละลายน้ำซาวข้าว กับเกลือละลายน้ำ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2ตอนดังนี้ คือเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดอง ด้วยเกลือละลายน้ำกับเกลือละลายน้ำซาวข้าว โดยเปลี่ยนวัตถุดิบ ซึ่งทำการทดลองอยู่ 3 ครั้ง เพื่อความแน่นอนในผลการทดลอง และในตอนที่ 2 ได้ทดลองเพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของเกลือที่แตกต่างกันใน การดอง ด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้วกับเกลือละลายน้ำ โดยใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน
          ผลจากการทดลองในตอนที่ 1 พบว่าการดองวัตถุดิบในน้ำซาวข้าว คือ ผักกาดแก้ว , แตงกวา , ฝรั่ง มีความเป็นกรดมากกว่าน้ำเกลือ
          ผลการทดลองในตอนที่ 2 ได้ใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันคือ ฝรั่ง ดองในเกลือละลายน้ำซาวข้าวกับเกลือละลายน้สะอาด โดยใช้ปริมาณเกลือที่แตกต่างกันดังนี้ คือ 75 กรัม 65 กรัม 55กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัม พบว่าในการดองที่ใช้เกลือในปริมาณ 45-35 กรัม จะให้ความเป็นกรดได้ดีกว่าเกลือปริมาณอื่น ๆ ซึ่งความเป็นกรดนี้จะช่วยให้วัตถุดิบนั้นมีรสชาดเปรี้ยว และไม่เกิดการเน่าของวัตถุดิบและการใช้เกลือในปริมาณนี้ ช่วยให้น้ำซาวข้าวไม่มีกลิ่นเหม็น

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ประชากรในภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ก่อนที่จะนำข้าวไปทำให้สุกได้ จะต้องนำข้าวที่แช่ไว้มารินน้ำออกก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกขั้นตอนนี้ว่า "การซาวข้าว" และน้ำที่ได้จากการซาวข้าวเรียกว่า "น้ำซาวข้าว" และเมื่อได้น้ำซาวข้าวมาก็จะนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ การล้างผักเพื่อช่วยลดสารเคมีที่ตกค้างในผัก ตลอดจนการหมักดองที่ช่วยในการรักษาสภาพของวัตถุดิบและทำให้วัตถุดิบมีรส เปรี้ยวและจากการที่ได้เห็นการดองฝรั่งของคนในหมู่บ้านจะเติมน้ำซาวข้าวลงไป ในไหดองด้วยหลังจากที่ดองเสร็จก็พบว่า ฝรั่งที่ดองมีรสเปรี้ยวขึ้นมาก ข้าพเจ้าจึงนำมาคุยและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มว่า การใส่น้ำซาวข้าวมีผลทำให้ฝรั่งมีรสเปรี้ยวจริงหรือไม่  แล้วจะต้องใช้ปริมาณเกลือเท่าใดจึงจะให้การดองด้วยน้ำซาวข้าวเกิดผลดีที่สุด จากข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้คิดค้นการทำโครงงานนี้ขึ้นมา

ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้า

          1. ศึกษาเปรียบเทียบค่าความเป็นกรด-เบส ในการดองระหว่างเกลือละลายน้ำซาวข้าวและเกลือละลายน้ำ
          2. ศึกษาความสามารถในการดองโดยใช้เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้ 0กรัม , 5 กรัม , 15 กรัม ,25 กรัม , 35 กรัม ,45 กรัม ,55 กรัม , 65 กรัม และ 75 กรัม ตามลำดับ
          3. ศึกษาการดองโดยใช้วัตถุดิบใน คือ ผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง

สมมุติฐานของการศึกษา

          ตอนที่ 1 วัตถุดิบทุกชนิดที่ดองด้วยน้ำซาวข้าวทิ้งไว้จะให้รสชาดเปรี้ยวกว่าน้ำเกลือ
          ตอนที่ 2 ปริมาณของเกลือที่ใช้ในการดอง  ถ้าเกลือลดลงจะมีผลทำให้วัตถุดิบที่ดองมีความเป็นกลางมากขึ้น

ตัวแปร

          ตัวแปรต้น

     ตอนที่ 1 : ฝรั่ง แตงกวา ผักกาดแก้ว
     ตอนที่ 2 : เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้ 75 กรัม 65 กรัม 55 กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัมตามลำดับ
          ตัวแปรตาม  ค่า pH (ความเป็นกรด-เบส) ที่วัดได้ในแต่ละครั้ง

          ตัวแปรควบคุม

     ตอนที่1 : ปริมาณเกลือ ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด
     ตอนที่ 2 : วัตถุดิบที่ใช้คือ ฝรั่ง ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด

 อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

     1. วัสดุ
          1.1 น้ำสะอาด        1.2 ฝรั่ง                   1.3 น้ำซาวข้าว
          1.4 เกลือ              1.5 ผักกาดแก้ว        1.6 แตงกวา
     2. อุปกรณ์
          อุปกรณ์เตรียมวัสดุ 1. ตะกร้า     2. มีด
          อุปกรณ์ในการดอง  1.ขวดโหล        2  ใบ
                                       2. บีกเกอร์ ขนาด 600 มิลลิลิตร     2 ใบ
                                       3. แท่งแก้วคนสาร
                                       4. ตาชั่ง
                                       5. ช้อนตักสาร
     3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
          1. เครื่องวัดค่า pH
          2. บีกเกอร์ ขนาด 50 มิลลิลิตร
     4. วิธีการทดลอง
          1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ
               1.1 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาล้างให้สะอาด
               1.2 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง ที่ล้างแล้วมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง
               1.3 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาชั่งเตรียมไว้เป็นส่วน ๆ ละ0.5 กิโลกรัม สังเกตวลักษณะของ ผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง
          2. ขั้นตอนการดอง แบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่าเกลือละลายในน้ำสะอาด กับน้ำซาวข้าวโดยเปลี่ยนวัตถุดิบ
               1. นำผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหล ซึ่งใบที่ 1 และ 2 คือผักกาดแก้ว ใบที่ 3 และ 4 คือแตงกวา ใบที่ 5 และ 6 คือฝรั่ง
                2. นำน้ำซาวข้าวมาละลายเกลือ 75 กรัม
                3. เทน้ำซาวข้าวในขั้นที่ 2 ลงในขวดโหลใบที่ 1, 3, 5 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกผลทุกวัน
                4. นำน้ำสะอาดมาละลายเกลือ 75 กรัม
                5. เทน้ำสะอาดในขั้นที่ 4 ลงในขวดโหลใบที่ 2 , 4 , 6 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกผลทุกวัน
                6. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH ด้วยเครื่องวัด pH แล้วบันทึกผล
                7. สังเกตผลที่ได้แล้ววัดค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลแต่ละใบมาบันทึกผลเปรียบเทียบ
                ตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นกรด-เบส โดยเปลี่ยนปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม โดยใช้ฝรั่งเป็นตัวควบคุม
                1. น้ำซาวข้าว 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้
                2. น้ำสะอาด 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้
                3. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 1
                4. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 2
                5. นำน้ำซาวข้าวที่ละลายเกลือเตรียมไว้มาเทลงในขวดโหลใบที่ 1  ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน
                6. นำน้ำสะอาดที่ละลายเกลือเตรียมไว้ในขั้นที่ 1 มาเทลงในขวดโหลใบที่ 2 ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน
                7. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH แล้วบันทึกผล
                8. สังเกตผลที่ได้ แล้วนำค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลทั้ง 2 ใบ มาเปรียบเทียบผล แล้วบันทึกผล
                9. ทำตามวิธีการจากข้อ 1-9 แต่ลดปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม จนไม่ใช้เกลือเลยในการดองครั้งสุดท้าย
               10. นำผลที่ได้ในแต่ละครั้งมาเปรียบเทียบค่า pH เพื่อทดส่อบความเป็นกรด-เบส

สรุปผลการทดลอง

          จากผลการทดลอง จะสรุปได้ว่า การดองด้วยเกลือละลายบน้ำซาวข้าว จะได้รสชาดเปรี้ยวกว่าการดองด้วยเกลือละลายน้สะอาด โดยไม่ต้องใส่สารเพิ่มรสชาติความเปรี้ยวลงไปในขณะดองอีก ซึ่งแม้เราจะเปลี่ยนวัตถุดิบ จากผักกาดแก้ว เป็น แตงกวาและฝรั่ง ผลที่ได้ น้ำซาวข้าวก็ยังให้ความเปรี้ยวกว่าน้ำสะอาดเสมอ และปริมาณเกลือที่เหมาะสมในการใช้ดองด้วยน้ำซาวข้าวให้เกิดรสชาติเปรี้ยวได้ ดีและเหมาะสมที่สุดในวัตถุดิบชนิดเดียวกันก็คือ ปริมาณเกลือ 45-35 กรัม โดยจะให้ค่าความเป็นกรดอยู่ที่ 3.70-3.76 ppm ถือว่าเป็นความเปรี้ยวที่เหมาะสม ซึ่งไม่เปรี้ยวเกินไปหรือจืดเกินไปที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการหมักดองจะมี เชื้อแบคทีเรียอยู่ซึ่งถ้าหากเราใส่เกลือมากเกินไปก็จะทำให้แบคทีเรียตายได้ แต่หากเกลือน้อยไปก็จะทำให้แบคทีเรียเหี่ยวดูไม่น่าทานหรืออาจติดเชื้อราได้ ดังนั้นเราจึงต้องหาปริมาณของเกลือที่เหมาะสมต่อการดอง
           นอกจากนี้การดองด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้าวยังสามารถรักษาสภาพของวัตถุดิบให้ ดูเต่งตึงไม่เหี่ยวไม่ช้ำเหมือนการดองด้วยเกลือละลายน้ำสะอาดและไม่นิ่มหรือ แข็งจนเกินไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1.สามารถนำไปแก้ไขปัญหาการพบสารเคมีในของดองในชีวิตประจำวันได้
          2. สามารถนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาเผยแพร่ให้ผู้คนได้รู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ข้อเสนอแนะ

          1. เราอาจนำการทดลองนี้ไปใช้กับข้าวพันธ์อื่น ๆ ได้ตามสายพันธุ์ที่มีอยู่ในบ้านของคุณ
          2. เราอาจนำการทดลองนี้ไปใช้ในวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น ดองกระท้อน ดองมะม่วง

####################################################

  (ขอบคุณข้อมูลจาก โรงเรียนอรุโณทัย จังหวัดลำปาง โครงงานวิทยศาสตร์   เรื่องความลับของน้ำซาวข้าว)

     ที่มาจาก http://nawapat.is.in.th/?md=content&ma=show&id=47

Wednesday, October 17, 2012

หลอดเรืองแสง

หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์(Fluorescent Lamp)
 
หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) ทำด้วยหลอดแก้วที่สูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทไว้เล็กน้อย มีไส้ที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง หลอดเรืองแสงอาจทำเป็นหลอดตรง หรือครึ่งวงกลมก็ได้  ส่วนประกอบและการทำงานของหลอดเรืองแสง มีดังนี้
            1. ตัวหลอด  ภายในสูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทและก๊าซอาร์กอน เล็กน้อย  ผิวด้านในของหลอดเรืองแสงฉาบด้วยสารเรืองแสงชนิดต่างๆ แล้วแต่ความต้องการให้เรืองแสงเป็นสีใด เช่น ถ้าต้องการให้เรืองแสงสีเขียว ต้องฉาบด้วยสารซิงค์ซิลิเคต แสงสีขาวแกมฟ้าฉาบด้วยมักเนเซียมทังสเตน แสงสีชมพูฉาบด้วยแคดเนียมบอเรต เป็นต้น
           2. ไส้หลอด ทำด้วยทังสเตนหรือวุลแฟรมอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดจะทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้ไอปรอทที่บรรจุไว้ในหลอดกลายเป็นไอมากขึ้น แต่ขณะนั้นกระแสไฟฟ้ายังผ่านไอปรอทไม่สะดวก เพราะปรอทยังเป็นไอน้อยทำให้ความต้านทานของหลอดสูง
          3. สตาร์ตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจรโดยต่อขนานกับหลอด ทำด้วยหลอดแก้วภายในบรรจุก๊าซนีออนและแผ่นโลหะคู่ที่งอตัวได้ เมื่อได้รับความร้อน  เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านก๊าซนีออน ก๊าซนีออนจะติดไฟเกิดความร้อนขึ้น ทำให้แผ่นโลหะคู่งอจนแตะติดกันทำให้กลายเป็นวงจรปิดทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านแผ่น โลหะได้ครบวงจร   ก๊าซนีออนที่ติดไฟอยู่จะดับและเย็นลง แผ่นโลหะคู่จะแยกออกจากกันทำให้เกิดความต้านทานสูงขึ้นอย่างทันทีซึ่งขณะ เดียวกันกระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดได้มากขึ้นทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้นมาก  ปรอทก็จะเป็นไอมากขึ้นจนพอที่นำกระแสไฟฟ้าได้
         4. แบลลัสต์  เป็นขดลวดที่พันอยู่บนแกนเหล็ก  ขณะกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิดการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้เกิดแรงเคลื่อน ไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น เมื่อแผ่นโลหะคู่ในสตาร์ตเตอร์แยกตัวออกจากกันนั้นจะเกิดวงจรเปิดชั่วขณะ    แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในแบลลัสต์จึงทำให้เกิดความต่าง ศักย์ระหว่างไส้หลอดทั้งสองข้างสูงขึ้นเพียงพอที่จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ไอปรอทจากไส้หลอดข้างหนึ่งไปยังไส้หลอดอีกข้างหนึ่งได้   แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากแบลลัสต์นั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เหนี่ยวนำไหลสวนทางกับกระแสไฟฟ้าจากวงจรไฟฟ้าในบ้าน ทำให้กระแส ไฟฟ้าที่จะเข้าสู่วงจรของหลอดเรืองแสงลดลง
                        หลักการทำงานของหลอดเรืองแสง
           เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอทจะคายพลังงานไฟฟ้าให้อะตอมไอปรอท ทำให้อะตอมของไอปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (excited state) และอะตอมของปรอทจะคายพลังงานออกมาเพื่อลดระดับพลังงาน  ในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งอยู่ในช่วงของแสงที่มองไม่เห็น เมื่อรังสีนี้กระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวหลอด สารเรืองแสงจะเปล่งแสงสีต่างๆตามชนิดของสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ในหลอดนั้น

                        ข้อดีของหลอดเรืองแสง
          1. เมื่อให้พลังงานไฟฟ้าเท่ากันจะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดาประมาณ 4  เท่า และมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดาประมาณ 8 เท่า
         2. อุณหภูมิของหลอดไม่สูงเท่ากับหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา
         3. ถ้าต้องการแสงสว่างเท่ากับหลอดไฟฟ้าธรรมดา จะใช้วัตต์ที่ต่ำกว่า จึงเสียค่าไฟฟ้าน้อยกว่า
                      ข้อเสียของหลอดเรืองแสง
         1. เมื่อติดตั้งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา เพราะต้องใช้แบลลัสต์และสตาร์ตเตอร์ เสมอ
         2. หลอดเรืองแสงมักระพริบเล็กน้อยไม่เหมาะในการใช้อ่านหนังสือ

         ตัวเลขที่ปรากฏบนหลอดไฟฟ้าธรรมดาและหลอดเรืองแสงซึ่งบอก กำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์(W) เป็นการบอกถึงปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปใน 1 วินาที เช่น 20 W หมายถึง หลอดไฟฟ้านี้จะใช้พลังงานไป 20 จูลในเวลา 1 วินาที ดังนั้นหลอดไฟฟ้าและหลอดเรืองแสงที่มีกำลังไฟฟ้ามาก เมื่อใช้งานก็ยิ่งสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้ามาก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย  ปัจจุบันมีการผลิตหลอดไฟพร้อมอุปกรณ์ประกอบ เช่น บัลลาสต์ แบบประหยัดพลังงานขึ้นมาใช้หลายชนิด  เช่น หลอดตะเกียบ หลอดผอม บัลลาสต์เบอร์ 5 เป็นต้น